ถ้าเราพูดถึงป้ายแสดงสัญลักษณ์ตามห้องน้ำสาธารณะ
รู้หรือไม่ว่า…ป้ายนี้มิได้ออกแบบมาเพื่อช่วยสร้างการรับรู้ถึงสิ่งอำนวยความสะดวกที่อยู่ในบริเวณนั่นให้ทราบเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีการออกแบบมาเพื่อรองรับกับการใช้งานเพื่อคนทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะเป็นผู้สูงอายุ ผู้ป่วย คนพิการ ผู้ที่มีความบกพร่องทางร่างกาย หรือที่มีสภาวะพิเศษทางด้านร่างกาย เช่น สตรีมีครรภ์ ผู้จำเป็นต้องใช้รถวีลแชร์ในการดำเนินชีวิต
ซึ่งในต่างประเทศอย่างเช่น ในประเทศญี่ปุ่นได้มีการออกแบบแผนผังแสดงถึงตำแหน่งของสิ่งอำนวยความสะดวกระบุไว้หน้าห้องน้ำ และตามบริเวณสถานที่สาธารณะต่างๆ ป้ายสัญลักษณ์ที่สื่อถึงคนป่วย คนชรา หรือคนทุกคนสามารถเข้าใช้งานได้ ช่วยให้การใช้ชีวิตประจำวันเกิดความสะดวก ปลอดภัย และเกิดความเสมอภาคเท่าเทียมกันในสังคมยิ่งขึ้น
ในประเทศไทยโดยตามหลักกฎกระทรวงกำหนดสิ่งอำนวยความสะดวกในอาคารสำหรับผู้พิการหรือผู้ทุพลภาพ และคนชรา พ.ศ. 2548 มีการระบุไว้ว่าห้องน้ำสาธารณะควรให้มีป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา ตามสมควร โดยต้องมีรายละเอียดดังนี้
- สัญลักษณ์รูปผู้พิการ
- เครื่องหมายแสดงถึงทางไปสู่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพและคนชรา
- สัญลักษณ์ หรือตัวอักษรแสดงประเภทของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา
สัญลักษณ์ รูปผู้พิการ เครื่องหมายแสดงทางไปสู่สิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา และสัญลักษณ์หรือตัวอักษรแสดงประเภทของสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา ระบุให้ใช้เป็นสีขาวโดยพื้นป้ายเป็นสีน้ำเงิน หรือเป็นสีน้ำเงินโดยพื้นป้ายเป็นสีขาว และที่สำคัญป้ายแสดงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพ และคนชรา ต้องมีความชัดเจน มองเห็นได้ง่าย ต้องติดอยู่ในตำแหน่งที่ไม่ทำให้สับสน และต้องจัดให้มีแสงส่องสว่างเป็นพิเศษทั้งกลางวันและกลางคืน
ผนังห้องน้ำสำเร็จรูป Willy เรานั้น ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของสัญลักษณ์แสดงถึงสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับผู้พิการหรือทุพพลภาพเป็นอย่างมาก มีการออกแบบป้ายสัญลักษณ์หน้าห้องน้ำคนพิการโดยมีสีพื้นเป็นสีน้ำเงิน ป้ายเป็นสีขาว จัดอยู่ในตำแหน่งที่มองเห็นชัดเจน มองง่าย ภายในห้องน้ำถูกออกแบบมาให้มีพื้นที่ภายในกว้างถึง 1500 เซนติเมตร สามารถนำรถวิลแชร์ที่มีขนาดใหญ่เข้าไปได้ โดยที่ไม่ติดขัด ไม่ว่าจะหมุนตัว หรือทำธุระส่วนตัวภายในก็รู้สึกปลอดภัยไม่เป็นอันตราย สำหรับผู้ใช้รถวีลแชร์ในการดำเนินชีวิตประจำวัน
ขอขอบคุณสำหรับที่มา : ข้อแนะนำการออกแบบสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับทุกคน , มยผ.6301 หน้า 103